หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การบวกและการลบ

 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2  การบวกและการลบ                          เวลา 11 ชั่วโมง







1. มาตรฐานการเรียนรู้
 

 



        ค 1.2  :  เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่างๆ และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา


        ค 6.1  :  มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์  และการนำเสนอ  การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์





2. ตัวชี้วัดชั้นปี / จุดประสงค์การเรียนรู้
 

 


 


 


จุดประสงค์การเรียนรู้
หลักฐาน / ชิ้นงาน / ภาระงาน
จุดประสงค์ปลายทาง
1.        สามารถบวกจำนวนนับและศูนย์ได้  พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ
2.        สามารถลบจำนวนนับและศูนย์ได้  พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ
3.        สามารถวิเคราะห์และแสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาของจำนวนนับและศูนย์ได้  พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ 
 
-       กิจกรรมพัฒนาการคิด 2.1 ข้อ 1-2
 
-       กิจกรรมพัฒนาการคิด 2.2 ข้อ 1-2
 
-       กิจกรรมพัฒนาการคิด 2.3 ข้อ 1-2
 
จุดประสงค์นำทาง
1.        หาผลลัพธ์การบวกจำนวนนับและศูนย์ได้
2.        หาผลลัพธ์การลบจำนวนนับและศูนย์ได้
 
 
-       กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1/ ที่ 2 (2.1)
-       กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ ข้อ 1-2 (2.2)
 


 


 


จุดประสงค์การเรียนรู้
หลักฐาน / ชิ้นงาน / ภาระงาน
จุดประสงค์นำทาง (ต่อ)
3.        วิเคราะห์และแสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบจำนวนนับและศูนย์ได้ 
4.        สร้างโจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบได้
 
-       กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1 (2.3)
 
 
-       กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 2 (2.3)


 





3. สาระการเรียนรู้
 

 


 


  1. การบวกจำนวนที่มีหลายหลัก
  2. การลบจำนวนที่มีหลายหลัก
  3. โจทย์ปัญหาการบวกและการลบ
     

    4. กิจกรรมการเรียนรู้
     
     
     


กิจกรรมที่ u  การบวกจำนวนที่มีหลายหลัก                                                                            เวลา  3 ชั่วโมง


(วิธีการสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการปฏิบัติ)



Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 1

 





กิจกรรมนำสู่การเรียน
 

                   


 


  1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ
  2. ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน  จากนั้นตรวจให้คะแนนโดยไม่เฉลยคำตอบ


 


Right Arrow: เฉลย                        แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test)


                        1.                  2.                 3.                 4.                  5.   


                        6.                 7.                 8.                 9.               10.   


 


  1. ครูให้นักเรียนดูกิจกรรมนำสู่การเรียน  ในหนังสือเรียน (หน้า 25)  โดยให้นักเรียนหาผลบวกของโจทย์การบวกเติมลงในช่องว่าง  จากนั้นให้นักเรียนพิจารณาว่าผลบวกในข้อใดมีค่ามากกว่ากัน  และครูให้นักเรียนดูโจทย์การบวกจำนวนสามจำนวน  แล้วหาผลบวกว่ามีค่าเท่าไร
     

    กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้
     
     


                    ขั้นที่  1    สังเกต  รับรู้


                    1.    ครูเขียนโจทย์การบวกจำนวนที่มีหลายหลักสองจำนวน(ที่ไม่มีการทด) บนกระดาน จากนั้นครูอธิบายว่า การบวกจำนวนที่มีหลายหลักสองจำนวนยังคงใช้หลักการเดิม คือ บวกจำนวนที่อยู่ในหลักเดียวกันเข้าด้วยกัน จากนั้นครูแสดงวิธีทำโจทย์การบวกที่เขียนไว้บนกระดานให้นักเรียนดู เช่น


 


 




Rounded Rectangle: หลักหน่วย   นำ 2 หน่วย บวก 0 หน่วย
หลักสิบ  นำ 2 สิบ บวก 1 สิบ
หลักร้อย  นำ 6 ร้อย บวก 2 ร้อย
หลักพัน  นำ 3 พัน บวก 6 พัน
หลักหมื่น นำ 2 หมื่น บวก 5 หมื่น
หลักแสน  นำ 1 แสน บวก 4 แสน


 


 


 


 


 


 


 


                2.    ครูเขียนโจทย์การบวกจำนวนที่มีหลายหลักสองจำนวน(ที่มีการทด) บนกระดานแล้วแสดงวิธีทำให้นักเรียนดูเป็นขั้นตอน เช่น



Rounded Rectangle: บวกในหลักแสน  ครูให้นักเรียนหาผลบวกในหลักแสน ซึ่งจะได้ว่า 4 แสน บวก 1 แสน ได้ 5 แสน       รวมกับทดอีก 1 แสน เป็น 6 แสน จากนั้นครูเขียน 6 ในหลักแสน

 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


               


 


                3.    ครูเขียนโจทย์การบวกจำนวนสามจำนวนบนกระดาน แล้วให้นักเรียนช่วยกันหาผลบวก โดยครูเขียนจำนวนทั้งสามจำนวนในแนวตั้ง แล้วให้นักเรียนหาผลบวกทีละหลัก เช่น



  11
253466
321301 +
118710
693477
 

 


 


 


 



+
 


 
253466
321301
574767
118710
693477
 

                จากนั้นครูบอกนักเรียนว่า การหาผลบวกของจำนวนสามจำนวน สามารถหาผลบวกทีละสองจำนวนก็ได้ ดังนี้



+
 
Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 2

 


 


 


 


 


                ขั้นที่  2    ทำตามแบบ


  1. ครูเขียนโจทย์การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีทด  และไม่มีทดบนกระดาน 2-3 ข้อ  แล้วให้นักเรียนทุกคนหาคำตอบลงในสมุด  โดยทำตามขั้นตอนที่ครูอธิบาย  เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบ
  2. ครูเขียนโจทย์การบวกจำนวนสามจำนวนบนกระดาน  2-3  ข้อ  แล้วให้นักเรียนทุกคนแสดงวิธีคิดหาคำตอบโดยบวกจำนวนพร้อมกันทีเดียวสามจำนวน  และโดยการบวกจำนวนทีละสองจำนวนลงในสมุด  โดยทำตามขั้นตอนที่ครูอธิบาย  เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบ
                    ขั้นที่  3   ทำเองโดยไม่มีแบบ


  1. ครูฝึกให้นักเรียนหาผลบวกโดยคิดในใจ  แล้วเขียนคำตอบ  ในกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่  1   ข้อ  1-2  ในหนังสือเรียน  (หน้า 27)  เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม
  2. ครูฝึกให้นักเรียนแสดงวิธีหาผลบวกจำนวนสามจำนวน  โดยให้ทำกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 2  ในหนังสือเรียน  (หน้า 28)  เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม

    Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 3
     
     


                ขั้นที่  4   ฝึกทำให้ชำนาญ


    1. ครูให้นักเรียนสร้างโจทย์การบวกจำนวนสองจำนวน  3  ข้อ  พร้อมทั้งหาคำตอบลงในสมุด
    2. ครูให้นักเรียนสร้างโจทย์การบวกจำนวนสามจำนวน  3  ข้อ  พร้อมทั้งหาคำตอบลงในสมุด

      กิจกรรมรวบยอด
       
       


                1.    หลังจากที่นักเรียนเข้าใจเรื่อง การบวกจำนวนที่มีหลายหลักแล้ว ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย จนได้ข้อสรุปว่า


                        -  การบวกจำนวนที่มีหลายหลัก  ใช้วิธีบวกจำนวนที่อยู่ในหลักเดียวกันเข้าด้วยกัน


                        -  การบวกจะมีการทดจากหลักหนึ่งไปอีกหลักหนึ่งที่อยู่ถัดไปทางซ้ายมือ เมื่อผลบวกของจำนวนในหลักนั้นๆ เป็นสองหลัก


                        -  จำนวนสามจำนวนที่นำมาบวกกันจะบวกสองจำนวนใดก่อนแล้วบวกกับจำนวนที่เหลือ ผลบวกย่อมเท่ากัน


2.    ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาการคิด 2.1 ข้อ 1-2 ในหนังสือเรียน (หน้า 29) เพื่อเป็นการฝึกหาผลบวกของจำนวน


                3.    ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม


 


กิจกรรมที่ v  การลบจำนวนที่มีหลายหลัก                                                                             เวลา  4  ชั่วโมง



Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 1

 


                   





กิจกรรมนำสู่การเรียน
 

 


                1.    ครูทบทวนการลบจำนวนที่มีหลายหลักสองจำนวนที่มีตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ทั้งที่ไม่มีการกระจายหลักและมีการกระจายในหลักต่างๆ โดยครูเขียนโจทย์การลบบนกระดาน แล้วให้นักเรียนช่วยกันหาคำตอบ และครูตรวจเช็คว่าถูกต้องหรือไม่ โดยเขียนแสดงวิธีทำให้นักเรียนดูอีกครั้ง


                2.    ครูให้นักเรียนดูกิจกรรมนำสู่การเรียน ในหนังสือเรียน (หน้า 30)  โดยให้นักเรียนหาผลลัพธ์ของโจทย์การลบจำนวน  แล้วเติมลงในช่องว่าง  จากนั้นให้นำผลลัพธ์มาเปรียบเทียบกัน





กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้
 

 


                ขั้นที่  1    สังเกต  รับรู้


                1.    ครูเขียนโจทย์การลบจำนวนที่มีหลายหลักสองจำนวน(ที่ไม่มีการกระจาย) บนกระดาน จากนั้นครูอธิบายว่า การลบจำนวนที่มีหลายหลักสองจำนวนยังคงใช้หลักการเดิม คือ นำจำนวนที่อยู่ในหลักเดียวกันมาลบกัน จากนั้นครูแสดงวิธีทำโจทย์การลบที่เขียนไว้บนกระดานให้นักเรียนดู เช่น



Text Box: ครูอธิบายต่อว่า การหาผลลบในแนวตั้ง ต้องตั้งตัวเลขในหลักเดียวกันให้ตรงกัน จากนั้นนำจำนวนที่อยู่ในหลักเดียวกันมาลบกันได้เลย

 


 


 


 


                2.    ครูเขียนโจทย์การลบจำนวนที่มีหลายหลักสองจำนวน(ที่มีการกระจาย)  บนกระดาน แล้วอธิบายให้นักเรียนฟังว่า การลบจำนวนที่มีหลายหลัก ถ้าตัวเลขในหลักใดของตัวตั้งมีค่าน้อยกว่าตัวเลขในหลักนั้นของตัวลบจะต้องมีการกระจายตัวตั้งจากหลักที่อยู่ถัดไปทางซ้ายมือ จากนั้นครูแสดงวิธีทำโจทย์ที่เขียนไว้บนกระดานเป็นขั้นตอนให้นักเรียนฟัง เช่น 517,241 209,150 = £



Rounded Rectangle: ลบในหลักหน่วย  1 ลบออก 0 ได้ 1 ครูเขียน 1 ในหลักหน่วย
Rounded Rectangle: ลบในหลักสิบ  หาผลลบในหลักสิบ จะเห็นว่าตัวตั้งคือ 4 สิบ ตัวลบคือ 5 สิบ ซึ่งตัวตั้งมีค่าน้อยกว่าตัวลบ ดังนั้นจะมีการกระจายจากหลักร้อยมาหลักสิบ คือ การกระจายจำนวนในหลักร้อยมา 1 ร้อย หรือ 10 สิบ ตัวตั้งในหลักร้อยจึงเหลือ 1 ร้อย และตัวตั้งในหลักสิบจึงเป็น 14 สิบ เพื่อแสดงการกระจายจากหลักร้อยมาหลักสิบ ครูเขียน 1 เหนือตัวเลข 2 ในหลักร้อย และเขียน 14 เหนือตัวเลข 4 ในหลักสิบ จากนั้นจึงหาผลลบในหลักสิบ 
14 สิบ ลบออก 5 สิบ จะได้ 9 สิบ ครูเขียน 9 ในหลักสิบ
Rounded Rectangle: ลบในหลักร้อย  หาผลลบในหลักร้อย ซึ่งจะได้ว่า 1 ร้อย ลบออก 1 ร้อย ได้ 0 ร้อย ครูเขียน 0 ในหลักร้อย
Rounded Rectangle: ลบในหลักพัน หาผลลบในหลักพัน จะเห็นว่าตัวตั้งคือ 7 พัน ตัวลบคือ 9 พัน ซึ่งตัวตั้งมีค่าน้อยกว่าตัวลบ ดังนั้นจะมีการกระจายจากหลักหมื่นมาหลักพัน คือ การกระจายจำนวนในหลักหมื่นมา 1 หมื่น หรือ 10 พัน ตัวตั้งในหลักหมื่นจึงเหลือ 0 หมื่น และ
ตัวตั้งในหลักพันจึงเป็น 17 พัน เพื่อแสดงการกระจายจากหลักหมื่นมาหลักพัน ครูเขียน 0 เหนือตัวเลข 1 ในหลักหมื่น และเขียน 17 เหนือตัวเลข 7 ในหลักพัน จากนั้นหาผลลบในหลักพัน ซึ่งจะได้ 17 พัน ลบออก 9 พัน ได้ 8 พัน ครูเขียน 8 ในหลักพัน
14 สิบ ลบออก 5 สิบ จะได้ 9 สิบ ครูเขียน 9 ในหลักสิบ
Rounded Rectangle: ลบในหลักหมื่น  หาผลลบในหลักหมื่น ซึ่งจะได้ว่า 0 หมื่น ลบออก 0 หมื่น ได้ 0 หมื่น 
ครูเขียน 0 ในหลักหมื่น
Rounded Rectangle: ลบในหลักแสน  หาผลลบในหลักแสน ซึ่งจะได้ว่า 5 แสน ลบออก 2 แสน ได้ 3 แสน 
ครูเขียน 3 ในหลักแสน

 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


                ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปอีกครั้งหนึ่งว่า 517,241 209,150 = 308,091



Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 2

 


 


                ขั้นที่  2    ทำตามแบบ


                1.    ครูเขียนโจทย์การลบจำนวนที่ไม่มีการกระจายและมีการกระจายบนกระดาน 2-3 ข้อ แล้วให้นักเรียนทุกคนหาคำตอบลงในสมุด  โดยทำตามขั้นตอนที่ครูอธิบาย


                2.    ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบ


                ขั้นที่  3   ทำเองโดยไม่มีแบบ


  1. ครูฝึกให้นักเรียนหาผลลบโดยคิดในใจแล้วหาคำตอบ  ในกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้  ข้อ  1  ในหนังสือเรียน  (หน้า 32)  และฝึกหาผลลบของจำนวนที่มีหลายหลัก  ในกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้  ข้อ  2  ในหนังสือเรียน  (หน้า 32) 
  2. ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม
     
     
     
     
    Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 3 


                   


                ขั้นที่  4   ฝึกทำให้ชำนาญ


                ครูให้นักเรียนจับสลากโจทย์การลบจำนวนคนละ  1  ข้อ  โดยแต่ละคนจะได้โจทย์ที่ไม่เหมือนกัน  แล้วให้นักเรียนลงมือหาผลลัพธ์พร้อมกันลงในกระดาษเปล่า  ครูจับเวลาเมื่อหมดเวลาให้นักเรียนรวบรวมส่งครู



Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 4


กิจกรรมรวบยอด
 

 


 


                1.    หลังจากที่นักเรียนเข้าใจเรื่อง การลบจำนวนที่มีหลายหลักแล้ว ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย


จนได้ข้อสรุปว่า


                        -  การลบจำนวนที่มีหลายหลักใช้วิธีนำจำนวนที่อยู่ในหลักเดียวกันมาลบกัน


                        -  การลบจะมีการกระจายตัวตั้งจากหลักที่อยู่ถัดไปทางซ้ายมือ เมื่อตัวเลขในหลักนั้นของตัวตั้งมีค่าน้อยกว่าตัวเลขในหลักนั้นของตัวลบ


                2.    ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาการคิด  2.2  ข้อ 1-2  ในหนังสือเรียน  (หน้า 32) เพื่อฝึกการหาผลลบของจำนวนที่มีหลายหลัก  และฝึกตรวจสอบความสมเหตุสมผลของคำตอบ


                3.    ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม


 


กิจกรรมที่ w  โจทย์ปัญหาการบวกและการลบ                                                                       เวลา  4  ชั่วโมง



Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 1

 





กิจกรรมนำสู่การเรียน
 

                   


 


                1.    ครูทบทวนเรื่องโจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการลบ โดยครูนำบัตรโจทย์ปัญหาการบวกและการลบมาให้นักเรียนอ่าน  พร้อมทั้งให้วิเคราะห์โจทย์ว่า โจทย์ถามอะไร จะหาคำตอบได้ด้วยวิธีบวกหรือวิธีลบ เช่น


 




ลูกแก้วฝากเงินกับธนาคารเดือนแรก 17,500 บาท เดือนที่สองฝาก 15,200 บาท
ลูกแก้วฝากเงินทั้งหมดกี่บาท
 


 


 


 


 


                ครูถามนักเรียนว่า


                                - โจทย์ถามอะไร (ลูกแก้วฝากเงินทั้งหมดกี่บาท)


                                - หาคำตอบได้ด้วยวิธีบวกหรือวิธีลบ (วิธีบวก)


                                - เขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ได้อย่างไร (17,500 + 15,200 = £)


                                - คำตอบเท่ากับเท่าไร (32,700 บาท)


                2.    ครูให้นักเรียนพิจารณาโจทย์ปัญหาในกิจกรรมนำสู่การเรียน  ในหนังสือเรียน (หน้า 33)  จากนั้นตอบคำถาม





กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้
 

 


                ขั้นที่  1    สังเกต  รับรู้


                1.    ครูติดบัตรโจทย์ปัญหาการบวกบนกระดาน เช่น



สิทธิชัยซื้อบ้านราคา              1,180,000 บาท
ต่อมาซื้อรถราคา                       879,000 บาท
สิทธิชัยซื้อบ้านและรถเป็นเงินทั้งหมดกี่บาท
 

 


 


ครูถามนักเรียนว่า


- โจทย์กำหนดอะไรให้บ้าง (ราคาบ้านและราคารถ)


- โจทย์ถามอะไร (สิทธิชัยซื้อบ้านและรถเป็นเงินทั้งหมดกี่บาท)


- หาคำตอบได้ด้วยวิธีบวกหรือวิธีลบ (วิธีบวก)


- เขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ได้อย่างไร (1,180,000 + 879,000 = £)


- คำตอบเท่ากับเท่าไร (2,059,000 บาท)


จากนั้นครูเขียนแสดงวิธีทำให้นักเรียนดูบนกระดาน


                2.    ครูติดบัตรโจทย์ปัญหาการลบบนกระดาน  แล้วฝึกให้นักเรียนวิเคราะห์โจทย์  โดยถามคำถามในทำนองเดียวกับโจทย์ปัญหาการบวก  เสร็จแล้วก็แสดงวิธีทำให้นักเรียนดู



Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 2

 


 


                ขั้นที่  2    ทำตามแบบ


  1. ครูนำบัตรโจทย์ปัญหาการบวกและบัตรโจทย์ปัญหาการลบติดบนกระดานแบบคละกันประมาณ 5-8 ข้อ แล้วให้นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์โจทย์ว่า โจทย์กำหนดสิ่งใดให้ โจทย์ถามอะไร และแก้โจทย์ด้วยวิธีบวกหรือวิธีลบจนครบทุกข้อ แล้วให้นักเรียนแสดงวิธีทำและหาคำตอบตามตัวอย่างที่ครูแสดงให้ดูลงในสมุด
  2. ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบของโจทย์ปัญหาจนครบทุกข้อ
                    ขั้นที่  3   ทำเองโดยไม่มีแบบ


  1. ครูให้นักเรียนฝึกวิเคราะห์โจทย์และแสดงวิธีทำโจทย์ปัญหา  ในกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่  1     ในหนังสือเรียน  (หน้า 35)  เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม
  2. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-5 คน ช่วยกันสร้างโจทย์ปัญหาการบวก 1 ข้อ  และสร้างโจทย์ปัญหาการลบอีก 1 ข้อ จากนั้นแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกไปเขียนโจทย์ปัญหาบนกระดานทีละกลุ่ม(ครูอาจช่วยแนะนำและปรับภาษา) และให้กลุ่มที่เหลือช่วยกันเขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์และหาคำตอบ
  3. ครูให้นักเรียนทุกคนฝึกสร้างโจทย์ปัญหา  โดยทำกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่  2                      ในหนังสือเรียน  (หน้า 36)  แล้วสุ่มนักเรียนออกมาเฉลยบนกระดาน

    Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 3
     
     


                ขั้นที่  4   ฝึกทำให้ชำนาญ


  1. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม  กลุ่มละ 2-3 คน  แล้วแจกบัตรโจทย์ปัญหาให้กลุ่มละ  1  ใบ  ช่วยกันวิเคราะห์โจทย์และแสดงวิธีทำ  โดยทำลงในกระดาษเปล่า  พร้อมเขียนชื่อสมาชิกกลุ่ม
  2. เมื่อทำเสร็จแล้ว  ให้แต่ละกลุ่มรวบรวมส่งครู

    Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 4
    กิจกรรมรวบยอด
     
     
     


 


                1.    หลังจากที่นักเรียนเข้าใจและหาคำตอบโจทย์ปัญหาการบวกและการลบได้แล้ว ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงขั้นตอนสำคัญของการแก้โจทย์ปัญหา จนได้ข้อสรุปว่า              


                        -  ขั้นที่ 1  อ่านโจทย์ให้เข้าใจ


  • รู้ว่า โจทย์กำหนดสิ่งใดให้
  • รู้ว่า โจทย์ถามอะไร และต้องแก้โจทย์ปัญหาด้วยวิธีบวก (+) หรือวิธีลบ (-)
                            -  ขั้นที่ 2  เขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ให้ถูกต้อง
                            -  ขั้นที่ 3  แสดงวิธีทำและหาคำตอบให้ถูกต้อง
                    2.    ครูให้นักเรียนฝึกวิเคราะห์โจทย์ปัญหา  แสดงวิธีทำ  และสร้างโจทย์ปัญหา  ให้เกิดความชำนาญ  โดยให้นักเรียนทุกคนทำกิจกรรมพัฒนาการคิด 2.3 ข้อ 1-2 ในหนังสือเรียน (หน้า 37)
                    3.    ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม
                    4.    ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบที่  2  ในหนังสือเรียน (หน้า 39)
                    5.    ครูมอบหมายให้นักเรียนจัดทำชิ้นงาน  โดยหาจำนวนที่มากกว่า  100,000  มา 5 จำนวน  จากนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์  แล้วเขียนเป็นตัวเลขและคำอ่าน  จากนั้นเลือกจำนวนไปสร้างเป็นโจทย์ปัญหาการบวกและการลบ
                    6.    ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดส่งผลงาน





5. สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 

 


 


  1. สื่อการเรียนรู้ (ตัวอย่าง : สื่อฯ มมฐ. หลักสูตรแกนกลางฯ คณิตศาสตร์ ป.4)
  2. บัตรโจทย์ปัญหาการบวกและการลบ


* ครูให้นักเรียนศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจาก หนังสือเรียน  คณิตศาสตร์ ป.4 (ฉบับอนุญาต) 
หน่วยการเรียนรู้ที่  2  (การบวกและการลบ) เพื่อเสริมความรู้ขยายความเข้าใจในบทเรียนนี้


 





6. การวัดและประเมินผล
 

 


 


        6.1  หลักฐานการเรียนรู้  (ชิ้นงานสุดท้ายที่แสดงพฤติกรรมการเรียนรู้รวบยอด)


  1. กิจกรรมพัฒนาการคิด  2.1  ข้อ  1
  2. กิจกรรมพัฒนาการคิด  2.1  ข้อ  2
  3. กิจกรรมพัฒนาการคิด  2.2  ข้อ  1
  4. กิจกรรมพัฒนาการคิด  2.2  ข้อ  2
  5. กิจกรรมพัฒนาการคิด  2.3  ข้อ  1
  6. กิจกรรมพัฒนาการคิด  2.3  ข้อ  2
            6.2  วิธีการวัดและประเมินผล


  1. ตรวจการทำกิจกรรมพัฒนาการคิด  2.1  ข้อ  1-2
  2. ตรวจการทำกิจกรรมพัฒนาการคิด  2.2  ข้อ  1-2
  3. ตรวจการทำกิจกรรมพัฒนาการคิด  2.3  ข้อ  1-2
  4. สังเกตการใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์  ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม  จากการทำกิจกรรมพัฒนาการคิด  2.3
  5. สังเกตการให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจและสรุปผลได้อย่างเหมาะสม  จากการทำกิจกรรมพัฒนาการคิด  2.1 และ 2.2
  6. สังเกตการใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร  การสื่อความหมาย  และ การนำเสนอได้อย่างถูกต้อง  จากการทำกิจกรรมพัฒนาการคิด  2.1-2.3
  7. ประเมินผลงานเรื่อง  หาจำนวนแล้วเขียนบอกจำนวนและนำไปสร้างโจทย์ปัญหา
  8. สังเกตพฤติกรรมในการปฏิบัติกิจกรรม
            6.3  เครื่องมือวัดและประเมินผลและเกณฑ์



  1. (ร้อยละ  70  ผ่านเกณฑ์)
     
    กิจกรรมพัฒนาการคิด  2.1  ข้อ  1-2
  2. กิจกรรมพัฒนาการคิด  2.2  ข้อ  1-2
  3. กิจกรรมพัฒนาการคิด  2.3  ข้อ  1-2
  4. แบบประเมินทักษะคณิตศาสตร์    

  5. (ดูเกณฑ์ในแบบประเมิน)
     
    แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 
  6. แบบประเมินผลงาน
  7. แบบประเมินสมรรถนะผู้เรียน  5  ด้าน
  8. แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์  8  ด้าน

    7. กิจกรรมเสนอแนะ
     
     
     


                    ในการสอนเรื่องการบวกและการลบ  หากมีนักเรียนบางคนที่ครูคิดว่าจำเป็นต้องฝึกทักษะการบวกเพิ่มเติม  ครูอาจเลือกโจทย์ที่มีผลบวกไม่เกิน 100  ไม่เกิน  1,000  และไม่เกิน  10,000  ให้ฝึกหาผลบวกตามลำดับ  และหากยังมีนักเรียนบางคนที่ครูคิดว่า  จำเป็นต้องฝึกทักษะการลบเพิ่มเติม  ครูอาจเลือกโจทย์    การลบที่มีตัวตั้งไม่เกิน 100  ไม่เกิน  1,000  และไม่เกิน  10,000  ให้ฝึกหาผลลบ  ตามลำดับ


 


 


 


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น