หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง การหาร


 


 

รหัสวิชา / ชื่อรายวิชา......................................................................................................กลุ่มสาระคณิตศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4                          แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5   การหาร                             เวลา 13 ชั่วโมง

ภาคเรียนที่.............................ผู้สอน............................................................โรงเรียน.........................................                                                                         


1. มาตรฐานการเรียนรู้
 
 

 


       

        ค 1.2  :  เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่างๆ และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา

        ค 6.1  :  มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์  และการนำเสนอ  การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์


2. ตัวชี้วัดชั้นปี / จุดประสงค์การเรียนรู้
 
 

 

 


จุดประสงค์การเรียนรู้
หลักฐาน / ชิ้นงาน / ภาระงาน
จุดประสงค์ปลายทาง
1.        หารจำนวนนับและศูนย์ได้  พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ
2.        วิเคราะห์และแสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาการหารของจำนวนนับและศูนย์ได้  พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบและสร้างโจทย์ได้
 
-กิจกรรมพัฒนาการคิด 5.1 ข้อ 1-2 /           
   5.2 ข้อ 1-2 / 5.3 ข้อ 1-2
-       กิจกรรมพัฒนาการคิด 5.4 ข้อ 1-2
 
จุดประสงค์นำทาง
1.        หาผลลัพธ์ของโจทย์การหารที่ตัวหารมีหนึ่งหลักได้
2.        หาผลลัพธ์ของโจทย์การหารที่ตัวหารมีสองหลักได้
3.        หาผลลัพธ์ของโจทย์การหารที่ตัวหารมีสามหลักได้
4.        วิเคราะห์และแสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาการหารที่ตัวหารไม่เกินสามหลักได้
5.        สร้างโจทย์ปัญหาการหารได้
 
-       กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1-3 (5.1)
-       กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1-2 (5.2)
-       กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1-2 (5.3)
-       กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1 (5.4)
 
-       กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 2 (5.4)


3. สาระการเรียนรู้
 


 

  1. การหารที่ตัวหารมีหนึ่งหลัก
  2. การหารที่ตัวหารมีสองหลัก
  3. การหารที่ตัวหารมีสามหลัก
  4. โจทย์ปัญหาการหาร
     

    4. กิจกรรมการเรียนรู้
     
     
     


กิจกรรมที่ u  การหารที่ตัวหารมีหนึ่งหลัก                                                                              เวลา  3 ชั่วโมง

(วิธีการสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการปฏิบัติ)


Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 1
 



กิจกรรมนำสู่การเรียน
 
                   

 

  1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ
  2. ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน  จากนั้นตรวจให้คะแนนโดยไม่เฉลยคำตอบ

 

Right Arrow: เฉลย                        แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test)

                        1.                 2.                  3.                 4.                  5.   

                        6.                 7.                  8.                 9.               10.   

 

  1. ครูทบทวนความสัมพันธ์ของการคูณและการหาร โดยครูเขียนโจทย์การคูณแล้วให้นักเรียนช่วยกันหาคำตอบ จากนั้นครูนำคำตอบของโจทย์การคูณที่ได้หารด้วยตัวตั้ง ให้นักเรียนหาผลหารและนำคำตอบของโจทย์การคูณที่ได้หารด้วยตัวคูณ ให้นักเรียนช่วยกันหาผลหาร จากนั้นครูเขียนสรุปบนกระดาน เช่น



8 Í 6 = 48
ดังนั้น  48  ÷  8  = 6 และ 48  ÷  6  = 8
 

 

 

 


  1. ครูให้นักเรียนเปิดหนังสือเรียน (หน้า 110) ดูกิจกรรมนำสู่การเรียน  แล้วหาผลลัพธ์ของโจทย์การหาร  และนำผลหารมาเปรียบเทียบกัน  จากนั้นให้นำผลหารทั้งสองข้อมารวมกัน
     

    กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้
     
     


                ขั้นที่  1    สังเกต  รับรู้

  1. ครูเขียนโจทย์การหารง่ายๆ เช่น 32 ÷  4 = c แล้วให้นักเรียนหาผลหาร โดยการหารยาว ดังนี้
     


     
     
     
            32
              0     8    Í4
     
    ดังนั้น 32 ÷  4 = 8
     

                                     

     
     
     


                2.    ครูยกตัวอย่างโจทย์การหารที่ตัวตั้งมีสามหลักและสี่หลักโดยตัวหารมีหนึ่งหลักให้นักเรียนช่วยกันหาผลหารโดยการหารยาววิธีตรงและการหารยาววิธีลัด เช่น 207 ÷ 9 = c  , 678 ÷ 6 = c 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


                3.    ครูสอนเรื่องการหารสั้น  โดยครูเขียนสัญลักษณ์การหารสั้น  ö_____  ก่อน จากนั้นจึงสอนการเขียนแสดงวิธีทำโดยหาผลหารของ 207 ÷ 9 ซึ่งจะได้  ดังนี้

                        9ö207

                               23

                ครูให้นักเรียนสังเกตว่าผลหารจะเขียนอยู่ข้างล่างของตัวตั้ง ซึ่งจะแตกต่างกับการหารยาวที่ผลหารจะเขียนอยู่ข้างบน ส่วนการหาผลหารให้ใช้หลักเดียวกับการหารยาว

                4.    ครูยกตัวอย่างโจทย์การหารที่ตัวหารมีหนึ่งหลักอีก 3-5 ตัวอย่าง มีทั้งการหารลงตัวและการหารไม่ลงตัว จนนักเรียนเข้าใจและเกิดความชำนาญ 


Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 2
 

 


                ขั้นที่  2    ทำตามแบบ

  1. ครูให้นักเรียนศึกษาตัวอย่างการหารที่ตัวหารมีหนึ่งหลัก  ในหนังสือเรียน (หน้า 111-113) ให้เข้าใจอีกครั้ง
  2. ครูกำหนดโจทย์การหารทั้งที่หารลงตัวและหารไม่ลงตัวบนกระดาน  แล้วให้นักเรียนทุกคนหาผลหารโดยวิธีหารยาวและหารสั้น  จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบ

    Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 3
     
     


                ขั้นที่  3   ทำเองโดยไม่มีแบบ

  1. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1 และกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 2                    ในหนังสือเรียน  (หน้า 112)  เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบ
  2. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 3 ในหนังสือเรียน  (หน้า 113)  เป็นการบ้าน     แล้วนำมาส่งครูในการเรียนครั้งต่อไป
                    ขั้นที่  4   ฝึกทำให้ชำนาญ
    ครูแจกบัตรโจทย์การหารที่ตัวหารมีหนึ่งหลักให้นักเรียนคนละ  2  ใบ  โดยมีทั้งหารลงตัวและหารไม่ลงตัว  และนักเรียนแต่ละคนจะได้โจทย์ที่ไม่ซ้ำกัน  จากนั้นให้นักเรียนแสดงวิธีทำพร้อมตรวจคำตอบ   ลงในกระดาษเปล่า  เสร็จแล้วนำส่งครู

    กิจกรรมรวบยอด
     
     


                1.    หลังจากที่นักเรียนเข้าใจ การหารที่ตัวหารมีหนึ่งหลักแล้ว ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย     จนได้ข้อสรุปว่า

                        -  การหาผลหารที่ตัวตั้งเป็นจำนวนที่มีหลายหลักและตัวหารมีหนึ่งหลัก อาจทำได้โดยใช้ความ สัมพันธ์ระหว่างการคูณและการหาร หรือใช้การตั้งหารโดยวิธีหารยาวหรือการหารสั้น

                        -  การหารที่มีเศษเป็น 0 เป็นการหารที่ลงตัว การหารที่มีเศษมากกว่า 0 แต่เศษน้อยกว่าตัวหาร      เป็นการหารที่ไม่ลงตัว หรือเป็นการหารที่เหลือเศษ

                        -  การตรวจคำตอบที่ได้จากการหารใช้ความสัมพันธ์ดังนี้  (ผลหารÍตัวหาร) + เศษ = ตัวตั้ง

2.    ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาการคิด 5.1 ข้อ 1-2 ในหนังสือเรียน (หน้า 114)

                3.    ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม

 

กิจกรรมที่ v  การหารที่ตัวหารมีสองหลัก                                                                              เวลา  3  ชั่วโมง


Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 1
 


                   


กิจกรรมนำสู่การเรียน
 
 


                1.    ครูทบทวนการหารที่ตัวหารมีหนึ่งหลัก โดยเขียนโจทย์บนกระดาน แล้วให้นักเรียนทั้งหมด แข่งกันหาคำตอบ โดยครูเป็นผู้ตรวจสอบคำตอบ ครูกำหนดโจทย์การหารให้นักเรียนหาคำตอบ 3-5 ข้อ

                2.    ครูให้นักเรียนดูกิจกรรมนำสู่การเรียน ในหนังสือเรียน (หน้า 115)  แล้วหาผลลัพธ์ของโจทย์การหาร  และนำผลหารมาเปรียบเทียบกัน  จากนั้นหาผลต่างของผลลัพธ์ของทั้งสองข้อ


กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้
 
 


                ขั้นที่  1    สังเกต  รับรู้

  1. ครูนำบัตรโจทย์ความสัมพันธ์ของการคูณและการหารติดบนกระดานให้นักเรียนดู เช่น

3 ´ 60 = 180
180 ÷ 60 = c
 
5 ´ 50 = 250
250 ÷ 50 = c
 
7 ´ 60 = 420
420 ÷ 60 = c

                ครูอธิบายให้นักเรียนฟังว่า การหาผลหารที่ตัวหารเป็นพหุคูณของ 10 สามารถหาคำตอบได้โดยใช้ความสัมพันธ์ของการคูณและการหาร เช่น  180 ÷ 60 ให้หาว่าจำนวนใดคูณกับ 60 ได้ 180 ซึ่งจะได้

3 ´ 60 = 180 ดังนั้น 180 ÷ 60 = 3

  1. ครูเขียนโจทย์การหารที่ตัวหารเป็นพหุคูณของ 10 แล้วให้นักเรียนแสดงวิธีทำโดยวิธีหารยาว เช่น 540 ÷ 20 = c โดยครูแนะนำให้นักเรียนแสดงวิธีทำ ดังนี้

     
     
     
     


                ครูให้นักเรียนสังเกตว่า ถ้าหารหลักใดให้ใส่ผลหารในหลักนั้น

  1. ครูเขียนโจทย์การหารเมื่อตัวหารมีสองหลักบนกระดาน เช่น 741 ÷ 13 = c แล้วแสดงวิธีหาคำตอบเป็นขั้นตอนให้นักเรียนดูพร้อมกับอธิบาย

     
    ขั้นที่ 1  หาผลหารในหลักร้อย

    นำ 13 ไปหาร 7 ในหลักร้อยได้ 0 เหลือ 7 ร้อย หรือ 70 สิบ
     
     
     
     



 

นำ 13 ไปหาร 74 สิบ คิดได้จาก 6 ´ 13 = 78 ซึ่งมากกว่า 74 ดังนั้น
ลดผลหารลงจาก 6 เป็น 5 ซึ่งในที่นี้คือ 5 สิบ ใส่ผลหาร 5 ในหลักสิบ
 
ขั้นที่ 2  หาผลหารในหลักสิบ

                       05

                13ø741

                       65


 

นำ 13 ไปหาร 91 คิดได้จาก 7 ´ 13 = 91 ผลหารเท่ากับ 7 ใส่ 7
ในหลักหน่วย
 
ขั้นที่ 3  หาผลหารในหลักหน่วย

                       057

                13ø741

                        65

                          91

                          91

                            0

                ดังนั้น 741 ÷ 13 = 57

  1. ครูเขียนโจทย์การหารที่ตัวหารมีสองหลัก(หารไม่ลงตัว) บนกระดาน จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันแสดงวิธีทำ เช่น 6,050 ÷ 12 = c

     
     
     
     
     
     


                ในการหาผลหารมีข้อสังเกต ดังนี้

                        -  เมื่อผลหารในหลักแรกเป็น 0 ไม่จำเป็นต้องเขียน 0 ในหลักแรก

                        -  เมื่อหารถึงหลักใดได้ผลหารเป็น 0 ต้องใส่ 0 ที่ผลหารเพื่อยึดหลักนั้นไว้


Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 2
 

 


                ขั้นที่  2    ทำตามแบบ

  1. ครูให้นักเรียนศึกษาตัวอย่างการหารที่ตัวหารมีสองหลัก  ในหนังสือเรียน  (หน้า 116-117)     อีกครั้งให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
  2. ครูกำหนดโจทย์การหารทั้งที่หารลงตัวและหารไม่ลงตัวบนกระดาน  แล้วให้นักเรียนทุกคนหาผลหารจากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบ

 

                ขั้นที่  3   ทำเองโดยไม่มีแบบ

  1. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่  1  ในหนังสือเรียน  (หน้า 116)  เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม
  2. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่  2  ข้อ 1-2 ในหนังสือเรียน  (หน้า 117-118)    เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม

 

Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 3 


                    ขั้นที่  4   ฝึกทำให้ชำนาญ

                    ครูแจกบัตรโจทย์การหารที่ตัวหารมีสองหลักให้นักเรียนคนละ  2  ใบ  โดยมีทั้งหารลงตัวและหารไม่ลงตัว  และนักเรียนแต่ละคนจะได้โจทย์ที่ไม่ซ้ำกัน  จากนั้นให้นักเรียนแสดงวิธีทำพร้อมทั้งตรวจคำตอบลงในกระดาษเปล่า  เสร็จแล้วนำส่งครู


กิจกรรมรวบยอด
 
 


                1.    หลังจากที่นักเรียนเข้าใจเรื่อง การหารที่ตัวหารมีสองหลักแล้ว ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย จนได้ข้อสรุปว่า

                        - พหุคูณของ 10 คือ จำนวน 10, 20, ..., 90 การหาผลหารที่ตัวหารเป็นพหุคูณของ 10 มีวิธีการเช่นเดียวกับการหาผลหารที่ตัวหารมีหนึ่งหลัก

                        - การหาผลหารที่ตัวหารเป็นจำนวนสองหลักใดๆ ใช้หลักเดียวกันกับการหารที่ตัวหารเป็นพหุคูณของ 10

                2.    ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาการคิด  5.2  ข้อ 1-2  ในหนังสือเรียน  (หน้า 118)

                3.    ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม

 

กิจกรรมที่ w  การหารที่ตัวหารมีสามหลัก                                                                              เวลา  3  ชั่วโมง


Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 1
 



กิจกรรมนำสู่การเรียน
 
                   

 

                1.    ครูทบทวนเรื่องการหารที่ตัวหารมีหนึ่งหลักและสองหลัก โดยเขียนโจทย์การหารบนกระดาน แล้วให้นักเรียนช่วยกันหาคำตอบ เช่น 192 ÷ 8 =  c , 1,512 ÷ 28 =  c

  


 

 

 

 

 


                2.    ครูให้นักเรียนเปิดหนังสือเรียน  (หน้า 119)  ดูกิจกรรมนำสู่การเรียน  แล้วหาผลลัพธ์ของโจทย์การหารที่กำหนด  จากนั้นหาผลต่างของผลลัพธ์ของโจทย์การหารทั้งสองข้อ


กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้
 
 


                ขั้นที่  1    สังเกต  รับรู้

                1.    ครูเขียนโจทย์การหารที่ตัวหารเป็นพหุคูณของ 100 จากนั้นครูแสดงวิธีทำโดยวิธีหารยาวให้นักเรียนดู  เช่น  57,400 ÷ 700 = £  


 

 


80  ×  700
 
                                                                               

                                                                                  56000

 2    × 700
 
                                                                                    1400

                                                                                    1400

                                                                                           0

 

                2.    ครูกำหนดโจทย์การหารที่ตัวหารมีสามหลัก โดยให้นักเรียนช่วยกันหาคำตอบซึ่งใช้วิธีการเดียวกับการหารที่ตัวหารมีสองหลัก คือ ให้หารจากหลักทางซ้ายมือไปทางขวามือทีละหลัก เช่น 6,566 ÷ 134  แล้วครูเขียนแสดงวิธีทำเป็นขั้นตอน พร้อมทั้งอธิบายให้นักเรียนฟัง

 


 

นำ 134 ไปหาร 6 ในหลักพันได้ 6 พัน เหลือ 6 พัน
 
ขั้นที่ 1  หาผลหารในหลักพัน

                      0

                134ø6566

 

 


 

กระจาย 6 พัน ไปรวมกับ 5 ร้อย เป็น 65 ร้อย นำ 134 ไปหาร 65 ร้อยได้ 0 ร้อย เหลือ 65 ร้อย
 
ขั้นที่ 2  หาผลหารในหลักร้อย

                      00

                134ø6566

 

 


 

กระจาย 65 ร้อยไปรวมกับ 6 สิบ เป็น 656 สิบ นำ 134 ไปหาร 656 สิบ ได้ 4 สิบ เหลือ 120 สิบ
 
ขั้นที่ 3  หาผลหารในหลักสิบ

                      004

                134ø6566

                        536

                      1206

 


 

กระจาย 120 สิบ ไปรวมกับ 6 ได้ 1,206 นำ 134 ไปหาร 1,206 ได้ 9 เหลือ 0
ในหลักหน่วย
 
ขั้นที่ 4  หาผลหารในหลักหน่วย

                      0049

                134ø6566

                          536

                          1206

                          1206

                                                 0

                ดังนั้น 6,566 ÷ 134 = 49

                3.    ครูเน้นให้นักเรียนได้ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้จากโจทย์การหาร

Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 2 

 


                ขั้นที่  2    ทำตามแบบ

  1. ครูให้นักเรียนศึกษาตัวอย่างการหารที่ตัวหารมีสามหลัก  ในหนังสือเรียน (หน้า 120-121)       ให้เข้าใจอีกครั้ง
  2. ครูกำหนดโจทย์การหารที่ตัวหารมีสามหลักบนกระดาน  แล้วให้นักเรียนทุกคนหาผลหาร  จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบ
                    ขั้นที่  3   ทำเองโดยไม่มีแบบ

  1. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1  ในหนังสือเรียน  (หน้า 120)  เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม
  2. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 2  ข้อ 1-2 ในหนังสือเรียน  (หน้า 122)  เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม

    Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 3
     
     


                ขั้นที่  4   ฝึกทำให้ชำนาญ

                ครูแจกบัตรโจทย์การหารที่ตัวหารมีสามหลักให้นักเรียนคนละ  2  ใบ  โดยมีทั้งหารลงตัวและหารไม่ลงตัว  โดยนักเรียนแต่ละคนจะได้โจทย์ที่ไม่ซ้ำกัน  จากนั้นให้นักเรียนแสดงวิธีทำพร้อมทั้งตรวจคำตอบ  เสร็จแล้วส่งครูตรวจ 

 


กิจกรรมรวบยอด
 
 


                1.    หลังจากที่นักเรียนเข้าใจ การหารที่ตัวหารมีสามหลักแล้ว ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายจนได้

ข้อสรุปว่า       

                        -  พหุคูณของ 100 คือ จำนวน 100, 200, ..., 900 การหารด้วยพหุคูณของ 100 มีวิธีการหาผลหารเช่นเดียวกับการหาผลหารที่ตัวหารมีหนึ่งหลักและสองหลัก

                        -  การหาผลหารที่ตัวหารเป็นจำนวนที่มีสามหลัก อาจใช้วิธีการต่างๆ เช่นเดียวกับการหารที่ตัวหารเป็นจำนวนที่มีไม่เกินสองหลัก

                2.    ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาการคิด 5.3 ข้อ 1-2 ในหนังสือเรียน (หน้า 123) 

                3.    ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม

 

กิจกรรมที่ x  โจทย์ปัญหาการหาร                                                                                       เวลา  4  ชั่วโมง


Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 1
 


                   


กิจกรรมนำสู่การเรียน
 
 


                1.    ครูทบทวนเรื่องโจทย์ปัญหาการหาร โดยครูเขียนโจทย์ปัญหาการหารที่ตัวตั้งมีสองหลักและตัวหารมีหนึ่งหลักบนกระดาน เช่น


มีส้ม 48 ผล ต้องการแบ่งเป็นกอง กองละ 4 ผล จะแบ่งส้มได้ทั้งหมดกี่กอง
 
 

 


                จากนั้นครูถามนักเรียนว่า

                -  โจทย์กำหนดอะไรให้บ้าง (มีส้ม 48 ผล ต้องการแบ่งเป็นกอง กองละ 4 ผล)

                -  โจทย์ถามอะไร (จะแบ่งส้มได้ทั้งหมดกี่กอง)

                -  จะต้องแก้โจทย์ปัญหาด้วยวิธีคูณหรือหาร (วิธีหาร)

                -  เขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ได้อย่างไร (48 ¸ 4 =  £ )

                -  คำตอบได้เท่ากับเท่าไร (12 กอง)   

                2.    ครูให้นักเรียนดูโจทย์ปัญหาการหาร  จากกิจกรรมนำสู่การเรียน  ในหนังสือเรียน (หน้า 124)  อ่านโจทย์แล้ววิเคราะห์โจทย์ว่า  โจทย์กำหนดอะไรให้  โจทย์ถามอะไร  และเขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ได้อย่างไร

 

 


กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้
 
 


                ขั้นที่  1    สังเกต  รับรู้

                1.    ครูนำแถบโจทย์ปัญหาการหารมาติดบนกระดาน จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์โจทย์และแสดงวิธีทำ


ชาวสวนเก็บดอกดาวเรืองได้ 1,632 ดอก ต้องการมัดเป็นกำ กำละ 12 ดอก จะได้ทั้งหมดกี่กำ
 
 

 


                ครูถามนักเรียนว่า

-  โจทย์กำหนดอะไรให้บ้าง (ชาวสวนเก็บดอกดาวเรืองได้ 1,632 ดอก ต้องการมัดเป็นกำ กำละ 12 ดอก)

-  โจทย์ถามอะไร (ชาวสวนจะมัดดอกดาวเรืองได้ทั้งหมดกี่กำ)

-  จะต้องแก้โจทย์ปัญหาด้วยวิธีคูณหรือหาร (วิธีหาร)

-  เขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ได้อย่างไร (1,632 ¸ 12 =£   )

-  จากนั้นครูและนักเรียนช่วยกันแสดงวิธีทำโจทย์ปัญหาบนกระดาน ดังนี้


วิธีทำ      ชาวสวนเก็บดอกดาวเรืองได้           1,632                     ดอก
ต้องการมัดเป็นกำ กำละ                    12                           ดอก
จะได้ทั้งหมด                       1,632 ÷ 12 =  136              กำ
ตอบ        ๑๓๖                   กำ
 
 

 

 

 


 

                        ครูสรุปคำตอบของโจทย์ปัญหาให้นักเรียนฟังอีกครั้ง

                                ชาวสวนจะมัดดอกดาวเรืองได้ทั้งหมด 136 กำ

                2.    ครูเขียนประโยคสัญลักษณ์การหารบนกระดาน เช่น 448 ÷ 8 = c จากนั้นครูให้นักเรียนช่วยกันสร้างโจทย์ปัญหาจากประโยคสัญลักษณ์ที่กำหนดให้ หากนักเรียนไม่สามารถสร้างได้ ให้ครูแนะนำหรือสร้างโจทย์ปัญหาเป็นตัวอย่างให้นักเรียนดู เช่น

Text Box: ครูมีหนังสือ 448 เล่ม ต้องการจัดใส่กล่อง กล่องละ 8 เล่ม จะจัดหนังสือได้กี่กล่อง

 


Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 2
 

 


                ขั้นที่  2    ทำตามแบบ

  1. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2-3 คน ให้ศึกษาตัวอย่างการแก้โจทย์ปัญหาการหาร  ในหนังสือเรียน (หน้า 125-126)  จากนั้นครูแจกโจทย์ปัญหาการหาร  กลุ่มละ 1 ข้อ ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันวิเคราะห์โจทย์และแสดงวิธีทำ จากนั้นส่งตัวแทนออกมาเขียนแสดงวิธีทำบนกระดาน 
  2. จากกลุ่มเดิม  ครูแจกประโยคสัญลักษณ์การหารให้กลุ่มละ  1  ประโยค  จากนั้นให้ช่วยกันสร้างโจทย์ปัญหา  และแสดงวิธีทำ
                    ขั้นที่  3   ทำเองโดยไม่มีแบบ

  1. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1  ในหนังสือเรียน  (หน้า 126)  เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม
  2. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 2  ในหนังสือเรียน  (หน้า 127)  เป็นการบ้าน    แล้วนำมาส่งครูในการเรียนครั้งต่อไป

    Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 3
     
     


                ขั้นที่  4   ฝึกทำให้ชำนาญ

                ครูให้นักเรียนสร้างโจทย์ปัญหาการหารจากสถานการณ์ที่พบเห็นในชีวิตจริงมาคนละ  1  โจทย์  จากนั้นวิเคราะห์โจทย์และแสดงวิธีทำโจทย์ปัญหาที่สร้างลงในกระดาษเปล่า  เสร็จแล้วนำส่งครู


Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 4
กิจกรรมรวบยอด
 
 

 


                1.    หลังจากที่นักเรียนเข้าใจเรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการหารแล้ว ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย จนได้ข้อสรุปว่า

        -  การแก้โจทย์ปัญหาการหาร ต้องวิเคราะห์โจทย์แล้วเขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ให้ถูกต้อง จากนั้นจึงหาคำตอบเหมือนกับการแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ และการคูณ

                2.    ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาการคิด 5.4 ข้อ 1-2 ในหนังสือเรียน (หน้า 128)  เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม

                3.    ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบที่  5  ในหนังสือเรียน (หน้า 130)

                4.    ครูมอบหมายให้นักเรียนจัดทำชิ้นงาน  โดยจัดทำเกมหาคู่   นำกระดาษแข็งมาตัดเป็นบัตรจำนวน  10  ใบ  แต่ละใบเขียนโจทย์การหารที่มีตัวหารหนึ่งหลัก  สองหลัก  และสามหลัก  (โจทย์ 1 ข้อ ต่อบัตร 1 ใบ)  และนำกระดาษแข็งมาตีตารางตัวเลข  ซึ่งจะมีคำตอบของบัตรโจทย์ทุกใบทั้งตามแนวตั้ง  แนวนอน  และแนวทแยง

                5.    ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดส่งผลงาน


5. สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
 

 


  1. สื่อการเรียนรู้  (ตัวอย่าง : สื่อฯ มมฐ. หลักสูตรแกนกลางฯ คณิตศาสตร์ ป.4)
  2. บัตรโจทย์ความสัมพันธ์ของการคูณและการหาร
  3. แถบโจทย์ปัญหาการหาร

 

* ครูให้นักเรียนศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจาก หนังสือเรียน  คณิตศาสตร์ ป.4 (ฉบับอนุญาต) 
หน่วยการเรียนรู้ที่  5  (การหาร)  เพื่อเสริมความรู้ขยายความเข้าใจในบทเรียนนี้

 


6. การวัดและประเมินผล
 
 

 


        6.1  หลักฐานการเรียนรู้  (ชิ้นงานสุดท้ายที่แสดงพฤติกรรมการเรียนรู้รวบยอด)

  1. กิจกรรมพัฒนาการคิด  5.1  ข้อ  1
  2. กิจกรรมพัฒนาการคิด  5.1  ข้อ  2
  3. กิจกรรมพัฒนาการคิด  5.2  ข้อ  1
  4. กิจกรรมพัฒนาการคิด  5.2  ข้อ  2
  5. กิจกรรมพัฒนาการคิด  5.3  ข้อ  1
  6. กิจกรรมพัฒนาการคิด  5.3  ข้อ  2
  7. กิจกรรมพัฒนาการคิด  5.4  ข้อ  1
  8. กิจกรรมพัฒนาการคิด  5.4  ข้อ  2
  9. ผลงานเรื่อง  เกมหาคู่
            6.2  วิธีการวัดและประเมินผล

  1. ตรวจการทำกิจกรรมพัฒนาการคิด  5.1  ข้อ  1-2
  2. ตรวจการทำกิจกรรมพัฒนาการคิด  5.2  ข้อ  1-2
  3. ตรวจการทำกิจกรรมพัฒนาการคิด  5.3  ข้อ  1-2
  4. ตรวจการทำกิจกรรมพัฒนาการคิด  5.4  ข้อ  1-2
  5. สังเกตการใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์  ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม  จากการทำกิจกรรพัฒนาการคิด  5.1 ข้อ 2  5.2 ข้อ 2  5.3 ข้อ 2  และ 5.4 ข้อ 1-2
  6. สังเกตการให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจและสรุปผลได้อย่างเหมาะสม  จากการทำกิจกรรมพัฒนาการคิด  5.1 ข้อ 1  และ  5.3 ข้อ 1
  7. สังเกตการใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร  การสื่อความหมาย  และ การนำเสนอได้อย่างถูกต้อง  จากการทำกิจกรรมพัฒนาการคิด 5.2 ข้อ 1  5.4 ข้อ 2
  8. ประเมินผลงานเรื่อง  เกมหาคู่
  9. สังเกตพฤติกรรมในการปฏิบัติกิจกรรม
            6.3  เครื่องมือวัดและประเมินผลและเกณฑ์

  1. (ร้อยละ  70  ผ่านเกณฑ์)
     
    กิจกรรมพัฒนาการคิด  5.1  ข้อ  1-2
  2. กิจกรรมพัฒนาการคิด  5.2  ข้อ  1-2
  3. กิจกรรมพัฒนาการคิด  5.3  ข้อ  1-2
  4. กิจกรรมพัฒนาการคิด  5.4  ข้อ  1-2
  5. แบบประเมินทักษะคณิตศาสตร์    

  6. (ดูเกณฑ์ในแบบประเมิน)
     
    แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 
  7. แบบประเมินผลงาน
  8. แบบประเมินสมรรถนะผู้เรียน  5  ด้าน
  9. แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์  8  ด้าน

    7. กิจกรรมเสนอแนะ
     
     
     


                    -

 

 

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น