หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เรขาคณิต



 

 


 


รหัสวิชา / ชื่อรายวิชา......................................................................................................กลุ่มสาระคณิตศาสตร์


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4            แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรขาคณิต                                           เวลา 19 ชั่วโมง

ภาคเรียนที่.............................ผู้สอน............................................................โรงเรียน.........................................                                                                         




1. มาตรฐานการเรียนรู้
 

 


       


       


        ค 3.1  :  อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ


        ค 3.2  :  ใช้การนึกภาพ (Visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (Spatial reasoning) และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (Geometric model) ในการแก้ปัญหา


        ค 4.1  :  เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (Pattern) ความสัมพันธ์  และฟังก์ชัน


        ค 6.1  :  มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์  และการนำเสนอ  การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์  และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์






2. ตัวชี้วัดชั้นปี / จุดประสงค์การเรียนรู้
 

 


 


 


จุดประสงค์การเรียนรู้
หลักฐาน / ชิ้นงาน / ภาระงาน
จุดประสงค์ปลายทาง
1.        สามารถบอกชนิดของมุม ชื่อมุม ส่วนประกอบของมุม และเขียนสัญลักษณ์ได้
2.        สามารถบอกได้ว่าเส้นตรงหรือส่วนของเส้นตรง คู่ใดขนานกัน พร้อมทั้งใช้สัญลักษณ์แสดงการขนานได้
3.        สามารถบอกส่วนประกอบของรูปวงกลมได้
4.        สามารถบอกได้ว่ารูปใดหรือส่วนใดของสิ่งของ  มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก และจำแนกได้ว่าเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าได้
 
-       กิจกรรมพัฒนาการคิด 3.1
 
-       กิจกรรมพัฒนาการคิด 3.4 ข้อ 1-3
 
 
-       กิจกรรมพัฒนาการคิด 3.3
-        กิจกรรมพัฒนาการคิด 3.2


 


จุดประสงค์การเรียนรู้
หลักฐาน / ชิ้นงาน / ภาระงาน
จุดประสงค์ปลายทาง (ต่อ)
5.        สามารถบอกได้ว่ารูปเรขาคณิตสองมิติรูปใดเป็นรูปที่มีแกนสมมาตรและบอกจำนวนแกนสมมาตรได้
6.        สามารถนำรูปเรขาคณิตมาประดิษฐ์เป็นลวดลายต่างๆ ได้
7.        สามารถบอกรูปและความสัมพันธ์ในแบบรูปของรูปที่กำหนดให้ได้
 
-       กิจกรรมพัฒนาการคิด 3.5
 
 
-       กิจกรรมพัฒนาการคิด 3.6  ข้อ 1-2
 
-       กิจกรรมพัฒนาการคิด 3.7
จุดประสงค์นำทาง
1.        บอกส่วนประกอบของมุม และเขียนชื่อและสัญลักษณ์แทนมุมได้
2.        จำแนกชนิดของมุม และบอกได้ว่าเป็นมุมฉาก     มุมแหลม หรือมุมป้าน
3.        บอกได้ว่าเส้นตรงหรือส่วนของเส้นตรงคู่ใดขนานกัน พร้อมทั้งใช้สัญลักษณ์แสดงการขนานได้
4.        บอกส่วนประกอบของรูปวงกลมได้
5.        บอกได้ว่ารูปใดหรือส่วนใดของสิ่งของมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก และจำแนกได้ว่าเป็น    รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
6.        บอกได้ว่ารูปเรขาคณิตสองมิติรูปใดเป็นรูปที่มีแกนสมมาตร
7.        บอกจำนวนแกนสมมาตรของรูปสมมาตรได้
8.        ประดิษฐ์ลวดลายโดยใช้รูปเรขาคณิตได้
9.        บอกรูปและความสัมพันธ์ในแบบรูปของ          รูปเรขาคณิตและรูปอื่นๆ ได้
 
-       กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1-2 (3.1)
 
-       กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 3 (3.1)
 
-       กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ (3.4)
 
 
-       กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ ข้อ 1-2 (3.3)
-       กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1 ข้อ 1-2/ที่ 2 (3.2)
 
 
 

-       กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ (3.5)
 
-       กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ ข้อ 1-2 (3.6)
-       กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ ข้อ 1-2 (3.7)
 


 


 


 


 






3. สาระการเรียนรู้
 

 


  1. มุม
  2. รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก
  3. รูปวงกลม
  4. เส้นขนาน
  5. รูปที่มีแกนสมมาตร
  6. การประดิษฐ์ลวดลายโดยใช้รูปเรขาคณิต
  7. แบบรูปและความสัมพันธ์






4. กิจกรรมการเรียนรู้
 

 


 


 


กิจกรรมที่ u  มุม                                                                                                                     เวลา  2  ชั่วโมง


(วิธีสอนแบบโมเดลซิปปา)




Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 1


กิจกรรมนำสู่การเรียน
 

 


 


 


  1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ
  2. ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน  จากนั้นตรวจให้คะแนนโดยไม่เฉลยคำตอบ


 


Right Arrow: เฉลย                        แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test)


                        1.                 2.                 3.                 4.                  5.   


                        6.                 7.                 8.                  9.                10.   


 


ขั้นทบทวนความรู้เดิม




A .
 

                    1.    ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละกันทั้งเด็กเก่งเด็กอ่อน  เด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย  แล้วให้สมาชิกในกลุ่มทบทวนเรื่องมุม โดยวาดรูปมุมบนกระดาน แล้วให้นักเรียนทุกกลุ่มตอบคำถาม เช่น




.
C
 



-                   จากรูปมุมนี้เกิดจากรังสีกี่เส้น (2 เส้น)
อะไรบ้าง ( และ )
-                   มุมนี้มีจุดยอดมุมคือจุดใด (จุด B)
และแขนของมุมคือรังสีอะไร ( และ )
 
 
 



 


                    2.    ครูให้นักเรียนทุกกลุ่มดูกิจกรรมนำสู่การเรียน  ในหนังสือเรียน (หน้า  42)  แล้วให้นักเรียนพิจารณาว่ารูปใดเป็นมุมและรูปใดไม่เป็นมุม  พร้อมบอกเหตุผล


ขั้นแสวงหาความรู้ใหม่


  1. นักเรียนแต่ละคนจับฉลากเพื่อศึกษาความรู้ เรื่อง เกี่ยวกับมุม ในหัวข้อต่อไปนี้
    1. ส่วนประกอบของมุม
    2. การเขียนชื่อและสัญลักษณ์แทนมุม
    3. การเปรียบเทียบขนาดของมุมและชนิดของมุม
  2. นักเรียนที่จับฉลากได้หัวข้อเดียวกันให้ไปรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มใหม่
    ขั้นศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล
                        นักเรียนในกลุ่มใหม่ศึกษาความรู้ตามหัวข้อที่ได้รับจากหนังสือเรียน (หน้า 43-46)                   และทำกิจกรรมฝึกการเรียนรู้  ดังนี้


  • กลุ่มที่  1  ส่วนประกอบของมุม  ทำกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1 (หน้า  43)
  • กลุ่มที่  2  การเขียนชื่อและสัญลักษณ์แทนมุม  ทำกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 2 (หน้า  44)
  • กลุ่มที่  3  การเปรียบเทียบขนาดของมุมและชนิดของมุม  ทำกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 3  (หน้า  46)

    Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 2
     


                   


ขั้นแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม


  1. นักเรียนกลุ่มใหม่กลับไปกลุ่มเดิม  นำความรู้ที่ตนได้ศึกษากลับไปถ่ายทอดความรู้ให้เพื่อนกลุ่มเดิมฟัง
  2. นักเรียนในกลุ่มอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
    ขั้นสรุปและจัดระเบียบความรู้


    1. นักเรียนกลุ่มเดิมร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการศึกษาความรู้เกี่ยวกับเรื่องมุม  สิ่งที่เป็นความรู้เดิมและความรู้ใหม่
    2. นักเรียนสรุปความรู้ลงในกระดาษที่ครูแจกให้  เขียนชื่อสมาชิกกลุ่มไว้ด้านหลังแล้วนำส่งครู
      ขั้นปฏิบัติ / แสดงผลงาน


  1. นักเรียนกลุ่มเดิมร่วมกันคิดว่า  จะนำเสนอผลงานในรูปแบบใดเพื่อให้เพื่อนกลุ่มอื่นเข้าใจง่ายและเป็นวิธีการที่แปลกใหม่
  2. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงาน  ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปอีกครั้ง
    ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้
    ครูให้นักเรียนสำรวจสิ่งของเครื่องใช้ที่พบเห็นในชีวิตประจำวันว่ามีส่วนใดที่มีลักษณะเป็นมุมบ้าง และเป็นมุมชนิดใด

    กิจกรรมรวบยอด
     
     
     


  1. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาการคิด  3.1  ในหนังสือเรียน  (หน้า 47)
  2. ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม
     


กิจกรรมที่ v  รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก                                                                                           เวลา  3  ชั่วโมง


(วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการปฏิบัติ)




Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 1

 


                   






กิจกรรมนำสู่การเรียน
 

 


                1.    ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-5 คน แล้วแจกกระดาษรูปสี่เหลี่ยมชนิดต่างๆ ให้แต่ละกลุ่ม กลุ่มละ 12 ใบ จากนั้นให้แต่ละกลุ่มใช้กระดาษที่พับเป็นมุมฉากมาวัดมุมของรูปสี่เหลี่ยมทุกมุม ทีละรูป แล้วให้จำแนกรูปสี่เหลี่ยมที่มีมุมทุกมุมเป็นมุมฉากออกไว้พวกหนึ่ง


                2.    ครูตรวจดูว่านักเรียนแต่ละกลุ่ม จำแนกรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากได้ถูกต้องหรือไม่ หากยังไม่ถูกต้องให้ครูช่วยแนะนำ


                3.    ครูให้นักเรียนดูกิจกรรมนำสู่การเรียน ในหนังสือเรียน (หน้า 48)  แล้วให้นักเรียนช่วยกันพิจารณาว่า  รูปสี่เหลี่ยมรูปใดเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากบ้าง






กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้
 

 


                ขั้นที่  1    สังเกต  รับรู้


                1.    ครูอธิบายว่า รูปสี่เหลี่ยมที่มีมุมทุกมุมเป็นมุมฉาก เรียกว่า รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก จากนั้นครูนำสิ่งของ เช่น ยางลบ สมุด ไม้บรรทัด ให้นักเรียนพิจารณาว่ามีส่วนใดเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก แล้วให้นักเรียนยกตัวอย่างสิ่งต่างๆ ที่มีส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก


                2.    ครูติดบัตรภาพรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และบัตรภาพรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า อย่างละ 3 รูป แล้วให้นักเรียนพิจารณาและตอบคำถามต่อไปนี้


                        -  มีรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากกี่รูป (6 รูป)


                        -  รู้ได้อย่างไรว่าเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก (เพราะมีมุมทุกมุมเป็นมุมฉาก)


                        -  รูปสี่เหลี่ยมที่มีด้านทุกด้านยาวเท่ากันมีกี่รูป (3 รูป)


                จากนั้นครูแนะนำว่า รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีด้านทุกด้านยาวเท่ากัน เรียกว่า รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และ รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีด้านตรงข้ามยาวเท่ากันสองคู่ แต่ด้านที่อยู่ติดกันยาวไม่เท่ากัน เรียกว่า รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และด้านที่ยาวกว่า เรียกว่า ด้านยาว ด้านที่สั้นกว่า เรียกว่า ด้านกว้าง


                3.    ครูให้นักเรียนตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าจากแบบที่ครูให้ จากนั้นให้นักเรียนพับกระดาษตามแนวของมุมที่อยู่ตรงข้ามกัน 2 เส้น แล้วลากเส้นตามรอยพับ ครูแนะนำว่าเส้นนี้ เรียกว่า เส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยม


                4.    ครูให้นักเรียนใช้กระดาษที่พับเป็นมุมฉากวัดมุมที่ตัดกันของเส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ว่ารูปสี่เหลี่ยมมุมฉากชนิดใดมีเส้นทแยงมุมตัดกันเป็นมุมฉาก (รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีเส้นทแยงมุมตัดกันเป็นมุมฉาก) แล้วครูให้นักเรียนสังเกตดูว่า เส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากจะแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน และเส้นทแยงมุม 1 เส้น จะแบ่งรูปสี่เหลี่ยมออกเป็นรูปสามเหลี่ยมสองรูป




Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 2



 


                ขั้นที่  2    ทำตามแบบ


  1. ครูนำบัตรภาพรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และบัตรภาพรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ติดบนกระดาน 8-10 รูป จากนั้นชี้ทีละรูป แล้วให้นักเรียนช่วยกันตอบว่าเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากชนิดใด
  2. ครูวาดรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าบนกระดาน จากนั้นสุ่มเลือกนักเรียนออกมาเขียนเส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมทั้งสองรูป แล้วให้เพื่อนๆ ที่เหลือพิจารณาว่าถูกต้องหรือไม่

  3. C
     

     

     
    ครูวาดรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากบนกระดาน เช่น

     

    D
     

     
     
                    จากนั้นให้นักเรียนช่วยกันพิจารณาว่าส่วนของเส้นตรงใดเป็นเส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยม ส่วนของเส้นตรงใดไม่เป็นเส้นทแยงมุม เพราะอะไร


 


 


                ขั้นที่  3   ทำเองโดยไม่มีแบบ


  1. ครูให้นักเรียนฝึกพิจารณารูปว่ารูปใดเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก  และฝึกจำแนกรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก  จากกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1  ข้อ 1-2  ในหนังสือเรียน (หน้า 49)  เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม
  2. ครูให้นักเรียนฝึกลากเส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยม  จากกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่  2  ในหนังสือเรียน  (หน้า 50)  เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม

    Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 3
     


                   


                    ขั้นที่  4   ฝึกทำให้ชำนาญ


                    ครูนำสิ่งของในห้องเรียนให้นักเรียนพิจารณาว่ามีส่วนใดเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากหรือไม่  เช่น  แปรงลบกระดาน  กล่องชอล์ก  โต๊ะ  แล้วจำแนกว่าเป็นรูปสี่เหลี่ยมชนิดใด






กิจกรรมรวบยอด
 

 


                    1.        หลังจากที่นักเรียนเข้าใจเรื่อง รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากและเส้นทแยงมุม แล้ว ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย จนได้ข้อสรุปว่า


                            -  รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีมุมทุกมุมเป็นมุมฉาก แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ


รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า


                            -  รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีด้านยาวเท่ากันทุกด้าน


                            -  รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีด้านตรงข้ามยาวเท่ากัน แต่ด้านที่อยู่ติดกันยาวไม่เท่ากัน


                            -  เส้นทแยงมุม เป็นส่วนของเส้นตรงที่ลากจากจุดยอดมุมที่อยู่ตรงข้ามกันของรูปสี่เหลี่ยม


                            -  เส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตัดกันเป็นมุมฉาก


                            -  เส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก 2 เส้น จะแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน


                            -  เส้นทแยงมุมหนึ่งเส้นจะแบ่งรูปสี่เหลี่ยมออกเป็นรูปสามเหลี่ยมสองรูป


                    2.    ครูให้นักเรียนฝึกพิจารณาสิ่งของรอบตัวว่ามีส่วนใดเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากหรือไม่  และบอกว่าเป็นรูปสี่เหลี่ยมชนิดใด  จากกิจกรรมพัฒนาการคิด  3.2  ในหนังสือเรียน  (หน้า 51)


                    3.    ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม


 


 


 


กิจกรรมที่ w  รูปวงกลม                                                                                                          เวลา  3  ชั่วโมง


(วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการปฏิบัติ)




Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 1

 


                   






กิจกรรมนำสู่การเรียน
 

 


  1. ครูนำสิ่งของต่างๆ มาเป็นแบบรูป เช่น แปรงลบกระดาน กล่องดินสอ แก้วน้ำ ฝากระป๋อง
    ฝากล่องข้าว ไม้บรรทัด แล้วเขียนรูปบนกระดานตามแบบ จากนั้นให้นักเรียนอภิปรายว่ารูปบนกระดานรูปใดเป็นรูปวงกลมบ้าง
                    2.    ครูให้นักเรียนพิจารณารูปวงกลมแต่ละรูป  จากกิจกรรมนำสู่การเรียน  ในหนังสือเรียน       (หน้า 52)  แล้วบอกว่ารูปวงกลมแต่ละรูปมีส่วนประกอบต่างๆ เหมือนกันหรือไม่  และพิจารณาว่ารัศมีและเส้นผ่านศูนย์กลางของแต่ละรูปยาวเท่ากันหรือไม่






กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้
 

 


                ขั้นที่  1    สังเกต  รับรู้


                1.    ครูนำแบบรูปของรูปวงกลมมาให้นักเรียนเขียนรูปวงกลม จากนั้นตัดกระดาษเป็นรูปวงกลม ตามที่เขียนไว้ แล้วให้นักเรียนพับครึ่งรูปวงกลม โดยพับหลายๆ ครั้งเพื่อให้เกิดเส้นหลายๆ เส้น แล้วครูอธิบายว่า จุดตัดของเส้นทุกเส้นนั้น เรียกว่า จุดศูนย์กลางของรูปวงกลม และครูให้นักเรียนสังเกตว่า เส้นทุกเส้นที่เกิดจากการพับครึ่งรูปวงกลม เป็นส่วนของเส้นตรงที่ผ่านจุดศูนย์กลางทุกเส้น เส้นนี้เรียกว่า เส้นผ่านศูนย์กลาง ครูให้นักเรียนใช้ไม้บรรทัดวัดเส้นที่เกิดจากการพับจากจุดศูนย์กลางมายังเส้นขอบของรูป


จะพบว่าเส้นทุกเส้นมีความยาวเท่ากัน เส้นนี้เรียกว่า รัศมี และเส้นที่เป็นเส้นขอบของรูปวงกลม เรียกว่า


เส้นรอบวง


  1. ครูวาดรูปวงกลมและส่วนประกอบของรูปวงกลมบนกระดาน เช่น

     
     
     
     
     
     


                แล้วให้นักเรียนบอกจุดศูนย์กลางของรูปวงกลม (จุด ก) รัศมีของรูปวงกลม (กจ) และเส้นผ่านศูนย์กลางของรูปวงกลม (คง) แล้วให้ออกมาชี้ว่าเส้นใด คือ เส้นรอบวง


Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 2 


                ขั้นที่  2    ทำตามแบบ


                ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2-3 คน จากนั้นแจกบัตรภาพรูปวงกลมกลุ่มละ 1 รูป


ให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันเขียนส่วนประกอบของรูปวงกลม พร้อมชี้บอกว่าส่วนใดคืออะไร เสร็จแล้วส่งครูเพื่อตรวจสอบว่าถูกต้องหรือไม่


                ขั้นที่  3   ทำเองโดยไม่มีแบบ


  1. ครูให้นักเรียนฝึกบอกส่วนประกอบของรูปวงกลม  จากกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้   ข้อ  1-2  ในหนังสือเรียน  (หน้า 53-54) 
  2. ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม

    Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 3
     
     


                ขั้นที่  4   ฝึกทำให้ชำนาญ


                ครูแจกบัตรรูปวงกลมให้นักเรียนคนละ 1 ใบ แล้วให้นักเรียนเขียนส่วนประกอบต่างๆ ของรูปวงกลม  พร้อมเขียนลูกศรชี้บอก






กิจกรรมรวบยอด
 

 


                1.    หลังจากที่นักเรียนเข้าใจเรื่อง รูปวงกลมและส่วนประกอบของรูปวงกลมแล้ว ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย จนได้ข้อสรุปว่า             


                        -  รูปวงกลมมีส่วนประกอบ  ดังนี้


  • จุดศูนย์กลางของรูปวงกลม เป็นจุดคงที่ที่อยู่ตรงกลางรูปวงกลม ซึ่งอยู่ห่างจาก        เส้นรอบวงทุกๆ ส่วนเท่ากัน


  • เส้นรอบวง เป็นเส้นโค้งที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางเท่ากันตลอดความยาวของเส้น
  • เส้นผ่านศูนย์กลาง เป็นส่วนของเส้นตรงที่ลากจากจุดหนึ่งบนเส้นรอบวงด้านหนึ่งผ่านจุดศูนย์กลางของรูปวงกลมไปยังอีกจุดหนึ่งบนเส้นรอบวงอีกด้านหนึ่ง
  • รัศมี เป็นส่วนของเส้นตรงที่ลากจากจุดศูนย์กลางไปยังเส้นรอบวง
    2.    ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาการคิด 3.3  ในหนังสือเรียน (หน้า 54)
                    3.    ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม
     
     
    กิจกรรมที่ x  เส้นขนาน                                                                                                         เวลา  2  ชั่วโมง


(วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการปฏิบัติ)




Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 1

 


                   






กิจกรรมนำสู่การเรียน
 

 


                1.    ครูเขียนเส้นตรง 2 คู่ เส้นตรงคู่แรกขนานกัน เส้นตรงคู่ที่สองไม่ขนานกัน จากนั้นครูถามนักเรียนว่า


                        -  เส้นตรงคู่แรกมีระยะห่างเท่ากันตลอดเส้นหรือไม่ (เท่ากัน)


                        -  เส้นตรงคู่ที่สองมีระยะห่างเท่ากันตลอดเส้นหรือไม่ (ไม่เท่ากัน)


                ครูสังเกตดูว่า นักเรียนสามารถตอบได้ถูกต้องหรือไม่ หากนักเรียนตอบไม่ถูกต้องให้ครูช่วยแนะนำว่าเส้นตรงคู่ใดมีระยะห่างเท่ากันตลอดเส้น โดยดูจากอะไร


                2.    ครูให้นักเรียนพิจารณาเส้นตรงและส่วนของเส้นตรงจากกิจกรรมนำสู่การเรียน  ใน


หนังสือเรียน (หน้า 55)  ว่าเส้นตรงและส่วนของเส้นตรงคู่ใดขนานกันบ้าง






กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้
 

 


                ขั้นที่  1    สังเกต  รับรู้


                1.    ครูเขียนเส้นขนานคู่หนึ่งบนกระดาน แล้วสาธิตการวัดระยะห่างระหว่างเส้นตรงทั้งสอง โดยใช้กระดาษที่พับเป็นมุมฉาก จากนั้นครูแนะนำว่า เส้นตรงสองเส้นที่มีระยะห่างเท่ากันตลอด เรียกว่า เส้นตรงสองเส้นขนานกัน หรือเส้นตรงสองเส้นนั้นเป็นเส้นขนาน


                2.    ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3-5 คน แล้วแจกบัตรภาพเส้นขนานและเส้นไม่ขนานคละกันกลุ่มละ 5 ใบ จากนั้นให้นักเรียนใช้กระดาษที่พับเป็นมุมฉากวัดดูว่า เส้นตรงแต่ละคู่มีระยะห่างเท่ากันเสมอหรือไม่ แล้วสรุปว่าเส้นตรงคู่ใดบ้างขนานกัน คู่ใดบ้างไม่ขนานกัน


                3.    ครูให้นักเรียนยกตัวอย่างสิ่งของที่มีส่วนที่ขนานกัน  เช่น ไม้บรรทัด โต๊ะ




Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 2

 


 


                ขั้นที่  2    ทำตามแบบ


                ครูเขียนส่วนของเส้นตรงหรือเส้นตรงเป็นคู่ หลายๆ คู่ บนกระดานทั้งที่ขนานกันและไม่ขนานกัน แล้วให้นักเรียนใช้กระดาษที่พับเป็นมุมฉากวัด แล้วตอบว่า ส่วนของเส้นตรงหรือเส้นตรงคู่ใดขนานกัน และคู่ใดไม่ขนานกัน


                ขั้นที่  3   ทำเองโดยไม่มีแบบ


                ครูให้นักเรียนฝึกพิจารณาเส้นตรงหรือส่วนของเส้นตรงว่าขนานกันหรือไม่  จากกิจกรรมพัฒนา การเรียนรู้   ในหนังสือเรียน  (หน้า 56)  เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม


                ขั้นที่  4   ฝึกทำให้ชำนาญ


ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 2-3 คน แล้วแจกบัตรภาพของเส้นตรงหรือส่วนของเส้นตรง       สองเส้นที่มีทั้งขนานกันและไม่ขนานคละกัน  กลุ่มละ 10 ใบ จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันจำแนกว่าบัตรภาพใดแสดงเส้นตรงหรือส่วนของเส้นตรงขนานกันและไม่ขนานกันบ้าง 






กิจกรรมรวบยอด
 

 


                1.    หลังจากที่นักเรียนเข้าใจเรื่อง เส้นขนาน  แล้วครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย จนได้ข้อสรุปว่า 


                        -  เส้นตรงหรือส่วนของเส้นตรงสองเส้นที่อยู่บนระนาบเดียวกันขนานกัน  ก็ต่อเมื่อเส้นตรง   ทั้งสองมีระยะห่างเท่ากันเสมอ


                2.    ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาการคิด 3.4  ข้อ 1-3  ในหนังสือเรียน (หน้า 57)


                3.    ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม


 


กิจกรรมที่ y  รูปที่มีแกนสมมาตร                                                                                          เวลา  2  ชั่วโมง


(วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการปฏิบัติ)




Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 1

 






กิจกรรมนำสู่การเรียน
 

                   


 


  1. ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับรูปเรขาคณิต  โดยครูนำภาพเรขาคณิต เช่น รูปวงกลม รูปสี่เหลี่ยม และรูปที่ไม่เป็นรูปเรขาคณิต แล้วให้นักเรียนช่วยกันบอกว่า รูปใดบ้างเป็นรูปเรขาคณิต และรูปใดบ้าง       ไม่เป็นรูปเรขาคณิต
  2. ครูให้นักเรียนพิจารณารูปในกิจกรรมนำสู่การเรียน  ในหนังสือเรียน (หน้า 58)  แล้วบอกว่า
    รูปใดบ้างมีลักษณะเป็นรูปสมมาตร  หากนักเรียนตอบไม่ถูกก็ไม่เป็นไร  เพราะเป็นการดูพื้นฐานว่านักเรียนมีความรู้เรื่องรูปสมมาตรบ้างหรือไม่
     
     
     






กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้
 

 


                ขั้นที่  1    สังเกต  รับรู้


                1.    ครูนำแผ่นกระดาษที่ตัดเป็นรูปต่างๆ ทั้งที่เป็นรูปเรขาคณิตและไม่เป็นรูปเรขาคณิตมาให้ นักเรียนพับครึ่ง แล้วดูว่าทั้งสองข้างของรอยพับทับกันสนิทหรือไม่ แล้วครูสรุปให้ฟังว่า รูปที่สามารถพับครึ่งแล้วแต่ละข้างของรอยพับทับกันสนิท เรียกว่า รูปที่มีแกนสมมาตร และรอยพับ เรียกว่า แกนสมมาตร


                2.    ครูให้นักเรียนสังเกตดูว่ารูปเรขาคณิตแต่ละรูปมีแกนสมมาตรกี่แกน รูปเรขาคณิตชนิดใดมีแกนสมมาตรมากที่สุด และรูปเรขาคณิตชนิดใดบ้างที่ไม่มีแกนสมมาตร จากนั้นร่วมกันสนทนาอภิปรายถึงจำนวนแกนสมมาตรของแต่ละรูปที่มีจำนวนไม่เท่ากัน เช่น


                     รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส                                             รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า





 


 


 


 


 


                     มีแกนสมมาตร 4 แกน                                     มีแกนสมมาตร 2 แกน


                ขั้นที่  2    ทำตามแบบ


ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3-5 คน จากนั้นแจกแผ่นกระดาษรูปเรขาคณิตที่เขียนเส้นประไว้ แล้วให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันพิจารณาว่า เส้นประในแผ่นกระดาษของรูปเรขาคณิตนั้นเป็นแกนสมมาตรของรูปหรือไม่ แล้วตรวจสอบโดยการพับตามแนวของเส้นประ




Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 2

 


 


                ขั้นที่  3   ทำเองโดยไม่มีแบบ


                ครูให้นักเรียนฝึกพิจารณารูปสมมาตรและฝึกเขียนแกนสมมาตร  จากกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้    ในหนังสือเรียน  (หน้า 60)  เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม


                ขั้นที่  4   ฝึกทำให้ชำนาญ


                ครูวาดรูปบนกระดานหลายๆ รูป แล้วสุ่มเลือกนักเรียนออกมาเขียนแกนสมมาตรทีละคน จนครบทุกรูป ครูและเพื่อนๆ ตรวจสอบดูว่าเขียนแกนสมมาตรได้ถูกต้องหรือไม่


 


 







กิจกรรมรวบยอด
 


 


                1.    หลังจากที่นักเรียนเข้าใจเรื่อง รูปที่มีแกนสมมาตรแล้ว ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย จนได้ข้อสรุปว่า               


                        -  รูปสมมาตร เป็นรูปที่เมื่อพับครึ่งแล้ว แต่ละข้างของรอยพับทับกันสนิทพอดี


                        -  แกนสมมาตร เป็นเส้นที่ทำให้ทั้งสองข้างของรอยพับทับกันได้สนิท และได้รูปที่เท่ากัน
ทุกประการ


                2.    ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาการคิด 3.5  ในหนังสือเรียน (หน้า 61)  เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม


 


กิจกรรมที่ z  การประดิษฐ์ลวดลายโดยใช้รูปเรขาคณิต                                                         เวลา  2  ชั่วโมง


(วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการปฏิบัติ)




Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 1

 






กิจกรรมนำสู่การเรียน
 

                   


 


                1.    ครูทบทวนเรื่องรูปเรขาคณิตชนิดต่างๆ เช่น รูปวงกลม รูปสี่เหลี่ยม จุด เส้นตรง โดยนำบัตรภาพมาให้นักเรียนดู แล้วให้บอกว่าเป็นรูปเรขาคณิตชนิดใด


                2.    ครูให้นักเรียนพิจารณารูปประดิษฐ์  จากกิจกรรมนำสู่การเรียน  ในหนังสือเรียน (หน้า 62)  ว่ารูปประดิษฐ์นั้น  ประกอบด้วยรูปเรขาคณิตชนิดใดบ้าง






กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้
 

 


                ขั้นที่  1    สังเกต  รับรู้


                1.    ครูนำภาพวาดที่มีรูปเรขาคณิตชนิดต่างๆ ประกอบอยู่มาให้นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนพิจารณาว่าภาพนั้นมีรูปเรขาคณิตอะไรบ้าง จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาถึงภาพต่างๆ หรือสิ่งของต่างๆ ที่อยู่รอบตัว ว่าส่วนใหญ่จะประกอบด้วยรูปเรขาคณิต จากนั้นให้นักเรียนช่วยกันยกตัวอย่างสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัว ที่ประกอบด้วยรูปเรขาคณิต แล้วครูอภิปรายว่า มนุษย์นั้นรู้จักนำรูปเรขาคณิตมาใช้ในการออกแบบสร้างสรรค์งานศิลปะต่างๆ


                2.    ครูให้นักเรียนดูตัวอย่างการประดิษฐ์โดยใช้รูปเรขาคณิต ในหนังสือเรียน (หน้า 63)


 


 


Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 2 


                ขั้นที่  2    ทำตามแบบ


                1.    ครูให้นักเรียนฝึกจำแนกรูปประดิษฐ์ว่า  ประกอบด้วยรูปเรขาคณิตชนิดใดบ้าง  จากกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้   ข้อ  1  ในหนังสือเรียน  (หน้า 63)  เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม


                2.    ครูให้นักเรียนฝึกประดิษฐ์รูปต่างๆ จากรูปเรขาคณิต  จากกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้   ข้อ  2    ในหนังสือเรียน  (หน้า 63)  แล้วให้นักเรียนแสดงผลงานหน้าชั้น


                ขั้นที่  3   ทำเองโดยไม่มีแบบ


                ครูให้นักเรียนทุกคนประดิษฐ์รูปสัตว์หรือรูปต่างๆ ที่นักเรียนชื่นชอบมาคนละ  1  ภาพ  โดยใช้รูปเรขาคณิตมาประดิษฐ์


                ขั้นที่  4   ฝึกทำให้ชำนาญ


ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2-3 คน แล้วให้นำแผ่นกระดาษรูปเรขาคณิตมาประดิษฐ์เป็นรูปต่างๆ และตกแต่งเพิ่มเติมให้รูปดูสวยงามขึ้น แล้วนำเสนอให้เพื่อนดูหน้าชั้น






กิจกรรมรวบยอด
 

 


                1.    ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงการออกแบบและการประดิษฐ์ลวดลายโดยใช้รูปเรขาคณิต จนได้ข้อสรุปว่า    


                        -  รูปเรขาคณิตต่างๆ สามารถนำมาออกแบบและประดิษฐ์เป็นลวดลายต่างๆ ได้อย่างสวยงามโดยใช้ความคิดที่สร้างสรรค์


                2.    ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาการคิด 3.6  ข้อ 1-2  ในหนังสือเรียน (หน้า 64)  เสร็จแล้วสุ่มนักเรียนออกแสดงผลงานของตนเอง


 


กิจกรรมที่ {  แบบรูปและความสัมพันธ์                                                                                เวลา  3  ชั่วโมง


(วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการปฏิบัติ)




Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 1

 


                   






กิจกรรมนำสู่การเรียน
 

 


                ครูให้นักเรียนสังเกตแบบรูปจากกิจกรรมนำสู่การเรียน  ในหนังสือเรียน (หน้า 65)  โดยให้นักเรียนพิจารณาแบบรูป  แล้ววาดรูปถัดไปของแต่ละแบบรูปว่าเป็นรูปอะไร






กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้
 

 


                ขั้นที่  1    สังเกต  รับรู้


                1.    ครูยกตัวอย่างแบบรูปของรูปเรขาคณิตหรือแบบรูปอื่นๆ โดยติดบัตรรูปเรขาคณิตบนกระดาน แล้วให้นักเรียนสังเกตความสัมพันธ์และบอกลักษณะของรูปถัดไปทางขวามืออีก 3 รูป เช่น





 


 


                (รูปวงกลมเล็ก 2 รูป สลับกับรูปวงกลมใหญ่ 2 รูป และรูปวงกลมสีเทาสลับกับสีขาว ดังนั้น


                สามรูปถัดไป คือ รูปวงกลมเล็กสีขาว รูปวงกลมใหญ่สีเทา รูปวงกลมใหญ่สีขาว)





 


 


(จำนวนรูปสามเหลี่ยมเพิ่มขึ้นทีละ 2 ดังนั้นสามรูปถัดไป คือ รูปสามเหลี่ยมที่มีจำนวน 9 รูป 11 รูป และ 13 รูป)


                2.    ครูยกตัวอย่างแบบรูปของรูปเรขาคณิตหรือแบบรูปอื่นๆ อีก 2-3 ตัวอย่าง


                ขั้นที่  2    ทำตามแบบ


                1.    ครูให้นักเรียนฝึกพิจารณาแบบรูปของรูปเรขาคณิตและรูปอื่นๆ  โดยให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่  1   ข้อ  1-2  ในหนังสือเรียน  (หน้า 66-67)


                2.    ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม




Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 2

 


 


                ขั้นที่  3   ทำเองโดยไม่มีแบบ


  1. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม  กลุ่มละ 3-5 คน  แล้วให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันเขียนแบบรูปของรูปเรขาคณิตและรูปอื่นๆ  กลุ่มละ  2  ชุด  พร้อมทั้งบอกความสัมพันธ์ของแบบรูป
  2. ครูให้ตัวแทนกลุ่มออกนำเสนอหน้าชั้นเรียน  แล้วให้เพื่อนกลุ่มอื่นบอกรูปถัดไปของแบบรูปอีก 2-3 รูป
                    ขั้นที่  4   ฝึกทำให้ชำนาญ


                ครูเขียนแบบรูปบนกระดาน 5-8 แบบ แล้วให้นักเรียนวาดรูปถัดไปของแบบรูปนั้น  พร้อมทั้งบอกความสัมพันธ์ของแบบรูปแต่ละข้อ






Rounded Rectangle: ชั่วโมงที่ 3
กิจกรรมรวบยอด
 


 


 


 


                1.    หลังจากที่นักเรียนเข้าใจเรื่อง แบบรูปของรูปเรขาคณิตและแบบรูปอื่นๆ แล้ว ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย จนได้ข้อสรุปว่า             


-  การสังเกตแบบรูปของรูปเรขาคณิตและแบบรูปอื่นๆ ต้องดูว่ารูปแรกสัมพันธ์กับรูปที่สอง


อย่างไร และสัมพันธ์กับรูปที่สาม รูปที่สี่อย่างไร และต้องมีความต่อเนื่องกัน


                2.    ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาการคิด 3.7  ในหนังสือเรียน (หน้า 68)  เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม


                3.    ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบที่  3  ในหนังสือเรียน  (หน้า 70-71)


                4.    ครูมอบหมายให้นักเรียนจัดทำชิ้นงาน  โดยให้นักเรียนยกตัวอย่างสิ่งของเครื่องใช้มา  2  ชนิด  แล้ววาดรูปสิ่งของดังกล่าว  จากนั้นพิจารณาว่าสิ่งของนั้น  มีลักษณะเป็นมุม  เป็นรูปสี่เหลี่ยม  หรือรูปวงกลม  มีส่วนที่มีลักษณะขนานกันอย่างใดอย่างหนึ่งบ้างหรือไม่ แล้วร่วมกันกำหนดส่งผลงาน






5. สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 

 


 


  1. สื่อการเรียนรู้ (ตัวอย่าง : สื่อฯ มมฐ. หลักสูตรแกนกลางฯ คณิตศาสตร์ ป.4)
  2. บัตรภาพมุมและบัตรภาพรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
  3. สิ่งของที่เป็นแบบรูปในการเขียนรูปวงกลม


* ครูให้นักเรียนศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจาก หนังสือเรียน  คณิตศาสตร์ ป.4 (ฉบับอนุญาต) 
หน่วยการเรียนรู้ที่  3  (เรขาคณิต) เพื่อเสริมความรู้ขยายความเข้าใจในบทเรียนนี้






6. การวัดและประเมินผล
 




 


        6.1  หลักฐานการเรียนรู้  (ชิ้นงานสุดท้ายที่แสดงพฤติกรรมการเรียนรู้รวบยอด)


  1. กิจกรรมพัฒนาการคิด  3.1 
  2. กิจกรรมพัฒนาการคิด  3.2 
  3. กิจกรรมพัฒนาการคิด  3.3 
  4. กิจกรรมพัฒนาการคิด  3.4  ข้อ  1
  5. กิจกรรมพัฒนาการคิด  3.4  ข้อ  2
  6. กิจกรรมพัฒนาการคิด  3.4  ข้อ  3
  7. กิจกรรมพัฒนาการคิด  3.5 
  8. กิจกรรมพัฒนาการคิด  3.6  ข้อ  1
  9. กิจกรรมพัฒนาการคิด  3.6  ข้อ  2
  10. กิจกรรมพัฒนาการคิด  3.7 
            6.2  วิธีการวัดและประเมินผล


  1. ตรวจการทำกิจกรรมพัฒนาการคิด  3.1 
  2. ตรวจการทำกิจกรรมพัฒนาการคิด  3.2 
  3. ตรวจการทำกิจกรรมพัฒนาการคิด  3.3 
  4. ตรวจการทำกิจกรรมพัฒนาการคิด  3.4  ข้อ  1-3
  5. ตรวจการทำกิจกรรมพัฒนาการคิด  3.5 
  6. ตรวจการทำกิจกรรมพัฒนาการคิด  3.6  ข้อ  1-2
  7. ตรวจการทำกิจกรรมพัฒนาการคิด  3.7 
  8. สังเกตการให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ  จากการทำกิจกรรมพัฒนาการคิด  3.7
  9. สังเกตการใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร  การสื่อความหมาย               และการนำเสนอได้อย่างถูกต้อง  จากการทำกิจกรรมพัฒนาการคิด  3.4  ข้อ 1
  10. สังเกตการใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  จากการทำกิจกรรมพัฒนาการคิด  3.6 ข้อ 1-2
  11. ประเมินผลงานเรื่อง  การพิจารณาสิ่งของรอบตัวว่ามีลักษณะอย่างไร
  12. สังเกตพฤติกรรมในการปฏิบัติกิจกรรม
            6.3  เครื่องมือวัดและประเมินผลและเกณฑ์


  1. กิจกรรมพัฒนาการคิด  3.1 
  2. กิจกรรมพัฒนาการคิด  3.2 

  3. (ร้อยละ  70  ผ่านเกณฑ์)
     
    กิจกรรมพัฒนาการคิด  3.3 
  4. กิจกรรมพัฒนาการคิด  3.4  ข้อ  1-3
  5. กิจกรรมพัฒนาการคิด  3.5 
  6. กิจกรรมพัฒนาการคิด  3.6  ข้อ  1-2
  7. กิจกรรมพัฒนาการคิด  3.7
  8. แบบประเมินทักษะคณิตศาสตร์

  9. (ดูเกณฑ์ในแบบประเมิน)
     
    แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 
  10. แบบประเมินผลงาน
  11. แบบประเมินสมรรถนะผู้เรียน  5  ด้าน
  12. แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์  8  ด้าน

    7. กิจกรรมเสนอแนะ
     
     


                    -

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น